พิพิธภัณฑ์มังงะนานาชาติ เกียวโต

หลังจากท่องไปตาม Landmark ที่เป็นสุดยอดของเกียวโตแล้ว  ยังมีอีกสถานที่หนึ่งที่เราสองคนแม่ลูกตั้งใจว่าต้องมาเยือนให้ได้ คือ พิพิธภัณฑ์มังงะ  ลงจากรถไฟ  เราเดินมาตามแผนที่มาเรื่อยๆ  ก่อนถึงพิพิธภัณฑ์ก็ได้บันทึกภาพบ้านเมือง ผู้คนและวิถึความเป็นอยู่ละแวกพิพิธภัณฑ์ไว้ได้หลายภาพ  ทั้งสถานศึกษาร้านรวงต่างๆ มีไม้ดอกไม้ประดับที่ดูแปลกและสวยงามอยู่ตามอาคารบ้านเรือนทุกระยะ ช่างเป็นการเดินชมเมืองเกียวโตอย่างเพลิดเพลินอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยมาจนถึงพิพิธภัณฑ์มังงะนานาชาติ เกียวโต (Kyoto International Manga Museum) ที่เปิดให้เข้าชมมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2006  ภายในพิพิธภัณฑ์มีหนังสือการ์ตูนมังงะมากกว่า 300,000 เล่ม ตั้งแต่มังงะเก่าแก่ไปจนถึงมังงะต่างประเทศ  แม้ชั้นหนังสือในพิพิธภัณฑ์มังงะจะตั้งเรียงรายกันภายในพื้นที่แคบๆแต่ก็เป็นแหล่งรวมแฟนๆมังงะจากทุกสารทิศทั่วโลกที่มาเยือนโลกแห่งมังงะอันมีมนต์เสน่ห์  หลายล้านคน สมกับเป็น “พิพิธภัณฑ์มังงะนานาชาติ(Kyoto international manga museum )

พิพิธภัณฑ์มังงะ  ตั้งอยู่ที่  Karasuma-Oike noboru, Nakagyo-ku, Kyoto 604-0846  มีตัวอาคารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมในปี ค.ศ.2008   ทุกวันที่มีอากาศแจ่มใส  บรรดาคนรักมังงหลายเชี้อชาติจะพาออกไปอ่านมังงะกลางแจ้ง ช่างเป็นบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เพราะทุกคนดูสบายๆและมีความสุข  ( มีข้อมูลจากโลกออนไลน์ว่ามีผู้คนมาเยือนพิพิธภัณฑ์เกือบ 2 ล้านคนต่อปี และมากกว่า 10%  เป็นลูกค้าชาวต่างชาติ )  เมื่อผ่านมาจากประตูรั้ว มีมุมกาแฟและร้านขายของที่ระลึกและเมื่อผ่านทางเข้าอาคาร  ด่านแรกก็จะพบกับร้านค้าของพิพิธภัณฑ์ ที่มีสินค้าพิเศษหลายชนิดเกี่ยวกับมังงะ สินค้าหลากหลายซึ่งแต่ละชิ้นมีความน่ารัก  สวยงาม ดูดีมีคุณภาพ  ผู้มาเยอนแต่ละคนล้วนเพลิดเพลินไปกับการชมสินค้าและซี้อหาเพื่อเป็นของฝาก

บางช่วงผู้เข้าชมอาจโชคดีมากๆที่ได้ไปในช่วงที่มีการจัดนิทรรศการซึ่งพิพิธภัณฑ์มังงะนานาชาติ เกียวโต จะจัดนิทรรศการพิเศษปีละประมาณ 2-3 ครั้ง ภายในอาคาร 3 ชั้น มีทั้งโซนที่บอกเล่าประวัติความเป็นมาตั้งแต่เริ่มต้นของการเกิดมังงะ  บทบาทและอิทธิพลของมังงะในประเทศและระดับโลก รวมถึงยังเป็นห้องสมุดหนังสือการ์ตูนท้ังจากประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก   การพัฒนาการเขียนการ์ตูนของนักเขียนมืออาชีพในอดีต  เดินดูภาพไปในใจก็นึกชื่นชมความทุ่มเทของบรรพชนคนญี่ปุ่น  ที่สร้างสรรค์จินตนาการให้เป็นสมบัติของลูกหลานไปชั่วกาลสมัย   รากเหง้าศิลปะของศิลปินทุกคนกลายเป็นสินค้าส่งออกก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องจากยุคสู่ยุตที่ไม่อาจประมาณค่าได้

มีอีกโซนที่น่าสนใจซึ่งจัดไว้ให้นักวาดการ์ตูนวาดรูปเหมือนได้ประลองฝีมือกันอีกด้วย.ทั้งเวอร์ชั่นอนิเมะและเวอร์ชั่นมาตรฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย น่าเสียดายที่เราสองแม่ลูกไม่มีเวลามากพอที่จะนั่งวาดอวดฝีมือกับเขา  ตลอดระยะเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา  ครอบครัวเราใช้เวลาและใช้เงินเพื่อค้นสาระในการ์ตูนมังงะไปมากราวกับว่าจะอ่านเพื่อเตรียมตัวเดินทางตามหาแหล่งกำเนิดเลยทีเดียว  การอ่านมานานมานานก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้ต้องดั้นด้นมาจนถึงที่นี่  ทำให้ได้มารู้มาเห็น  มาคารวะสุดยอดนักเขียนการ์ตูนผู้ส่งต่อความสุขไปให้ผู้คนทั่วโลก   พิพิธภัณฑ์มังงะนานาชาติ เกียวโต (Kyoto International Manga Museum)  เก็บค่าบริการให้เข้าชม คนละ ประมาณ 800 เยน เปิดทำการ : AM10:00 – PM 18:00  หยุดทุกวนพุธและช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่   การเดินทางมีสถานีที่ใกล้ที่สุด คือ  Kyoto City Subway  (Karasuma Oike Station) , รถบัสเกียวโต / ป้ายรถบัสเมืองเกียวโต(Karasuma Oike) หากเดินทาง จาก Kyoto City Subway (Karasuma Oike Station)ทางออกหมายเลข 2 แล้วเลี้ยวซ้าย เดินตรงต่อไปอีก 1 นาที

พิพิธภัณฑ์การ์ตูนของญี่ปุ่น  มีทั้งข้อมูลข่าวสารความก้าวในอุตสาหกรรมการ์ตูนที่ทำให้ได้เรียนรู้ว่าญี่ปุ่นมีกิจกรรมเผยแผ่ความรู้ในเรื่องกระบวนการผลิต ผนวกกับเทคนิคต่างๆเรื่องการบริหารงานสื่อสิ่งพิมพ์ ทุกกระบวนการประสานกันอย่างลงตัวเพื่อการปลูกฝังให้ประชาชนได้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยผ่านสื่อสร้างสรรค์งานการ์ตูน  คุณค่าของพิพิธภัณฑ์อยู่ที่การรวบรวมข้อมูลบุคคลในระดับตำนานในแวดวงมังงะที่สืบสานต่อกันมายาวนาน   พิพิธภัณฑ์การ์ตูนของญี่ปุ่นคงไม่เพียงแต่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้เยาวชนญี่ปุ่นเท่านั้นแต่จะเป็นของผู้คนทั่วโลกอีกด้วย

  • P_20170430_120620
    P_20170430_120746
    P_20170430_120751

  • P_20170430_120814
    P_20170430_120930
    P_20170430_121006
  • P_20170430_121105
    P_20170430_121213
    P_20170430_121307_BF
  • P_20170430_124301
    P_20170430_124316
    P_20170430_124351_BF
  • P_20170430_124357
    P_20170430_124453
    P_20170430_124514
  • P_20170430_124538
    P_20170430_124554
    P_20170430_124608
  • P_20170430_124624
    P_20170430_124630
    P_20170430_124700
  • P_20170430_124713
    P_20170430_124727
    P_20170430_124750
  • P_20170430_124755
    P_20170430_124800
    P_20170430_124930
  • P_20170430_124946
    P_20170430_125001
    P_20170430_125029
  • P_20170430_125050
    P_20170430_125108
    P_20170430_125118
  • P_20170430_125159
    P_20170430_125218
    P_20170430_125331
  • P_20170430_125354
    P_20170430_125419
    P_20170430_125427
  • P_20170430_125454
    P_20170430_125553
    P_20170430_125557
  • P_20170430_125622
    P_20170430_125646
    P_20170430_125703
  • P_20170430_125712
    P_20170430_125723
    P_20170430_125808
  • P_20170430_125826
    P_20170430_125831
    P_20170430_125853
  • P_20170430_125907
    P_20170430_125922
    P_20170430_125933
  • P_20170430_125949
    P_20170430_125954
    P_20170430_130003
  • P_20170430_130015
    P_20170430_130035
    P_20170430_130051
  • P_20170430_130108
    P_20170430_130117
    P_20170430_130123
  • P_20170430_130130
    P_20170430_130143
    P_20170430_130201
  • P_20170430_130210
    P_20170430_130224
    P_20170430_130256
  • P_20170430_130304
    P_20170430_130347
    P_20170430_130406
  • P_20170430_130422
    P_20170430_130455
    P_20170430_130834
  • P_20170430_131036
    P_20170430_131047
    P_20170430_131110
  • P_20170430_131118
    P_20170430_131132
    P_20170430_131148
  • P_20170430_131223
    P_20170430_131531
    P_20170430_133907_BF
  • P_20170430_134205_BF
    P_20170430_134223_BF

การได้มาพบเห็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่ปี 1945 จนถึงปี 2017 ทำให้นึกถึงหนังสือการ์ตูนที่เคยอ่านในวัยเด็ก เช่น หนังสือการ์ตูนตุ๊กตา  เบบี้  หนูจ๋า  มหาสนุก  ขายหัวเราะ  การ์ตูนลายเส้นของยอดชายนายศุขเล็ก การ์ตูนลายเส้นสวยๆของเตรียม ชาชุมพร ฯลฯ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกแอบความฝันขึ้นในใจว่าหากมีพิพิธภัณฑ์การ์ตูนในเมืองไทย  สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่การ์ตูนนิสต์ทุกคนของเมืองไทย  มีการระดมทุนสร้างพื้นที่ที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้สวยงามทัดเทียมต่างชาติ   หากได้ร่วมมือกันทำในอย่างจริงจังเพื่อสร้างพลังและความฝันให้คนที่รักการ์ตูนแล้ว  เชื่อว่าการ์ตูนนิสต์และคนที่เก็บสะสมการ์ตูนดีๆ จะไม่อยู่อย่างเดียวดาย  เพราะเมื่อไรก็ตามที่พวกเขาได้มีพื้นทีในการจัดแสดงผลงานศิลปะของชาติที่มีคุณค่า  เชื่อได้ว่าอุตสาหกรรมการส่งออกทางวัฒนธรรมด้วยการ์ตูนไม่ใช่ความฝันที่เกินจริง.

 

About ครูกิติยา 95 Articles
ครูส่งเสริมการอ่าน

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*