根據中醫專家的治療經驗,腎虛有陰虛和陽虛之分,只有補腎陽才是與陽痿、早洩等有一定的關係。購買犀利士那就是——壯陽,壯陽,壯陽! 貨到付款、三千免運。
ทุกครั้งได้ยินข่าวการล่วงลับของปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้เขียนรู้สึกใจหาย เสียใจเสียดาย ทรัพยากรบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ความสามารถในด้านภาไทย ภาษาไทยซึ่งเป็นหัวใจของชาติ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นชาติไทยได้อย่างชัดเจนที่สุด ในปีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปี 2550 เป็น “ปีรณรงค์การใช้ภาษาไทยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 มีองค์กรต่างๆ จัดกิจกรรมโครงการ ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยหลากหลายกิจกรรม ในปีนั้นสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติประกาศยกย่องเชิดชูปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยหลายคน ทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ เช่น คุณนิลวรรณ ปิ่ททอง ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ศาสตราจารย์คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส ศาสตราจารย์ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา นาคสกุล และ ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ทุกท่านที่กล่าวมาล้วนสร้างสรรค์ผลงานทางภาษาไทยไว้ให้เป็นสมบัติอันล้ำค่า เป็นมรดกของภาษาประจำชาติ
ศาสตราจารย์ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เป็นนักวิชาการที่บุกเบิกงานศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านและคติชนวิทยาของภาคใต้ ท่านรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ทั้งเอกสาร วัตถุ สิ่งของ แถบบันทึกเสียง รูปภาพ แถบบันทึกเสียง คำบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมนิยมในท้องถิ่นซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ ตลอดจนประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปหัตถกรรมอันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของของชาวใต้ และทำให้อีกหลายคนเกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคใต้และภาคอื่นๆอย่างกว้างขวาง
ท่านเป็นผู้ก่อตั้ง “สถาบันทักษิณคดีศึกษา”ขึ้นในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ต่อมามีการรวบรวมข้อมูลมาสะสมไว้มากขึ้นแล้วพัฒนา เป็น“พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา” ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นของประชาชน
“พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา” ตั้งอยู่บนเนินเขาที่เกาะยอ หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สวยงามล้อมรอบด้วยทะเลสาบสงขลา เป็นภูมิทัศน์ที่ดีงามเชิญชวนให้ผู้ที่รักและสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับคติชนวิทยาปักษ์ใต้ไปศึกษาและท่องเที่ยวกัน
ถึงกาลที่ท่านได้พักผ่อน ผู้เขียนขออนุญาตนำประวัติและผลงานที่เรียบเรียงโดย นภดล มณีวัต และบทคารวาลัยของอาจารย์พินิจ นิลรัตน์ มารวบรวมไว้เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน มุ่งหวังให้ชนรุ่นหลังได้ระลึกถึงท่านผู้เป็นปูชนียบุคคลสำคัญด้านภาษาไทย
นภดล มณีวัต:ประวัติ ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์
ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ณ ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง ๗ คน บิดามารดามีอาชีพทำนา ได้เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนเลื่อนประชากร ตำบลตะเครียะ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนระโนดวิทยามูลนิธิ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ต่อจากนั้นได้รับทุนของจังหวัดสงขลาไปเรียนต่อหลักสูตร ป.ป. ที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ ๓ ปี เรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมศึกษาได้วุฒิ ป.ม.แล้วสอบเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ได้วุฒิ กศ.บ. วิชาเอกคณิตศาสตร์และภาษาไทย หลังเข้ารับราชการแล้ว ได้ศึกษาเพิ่มเติม ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาเฉพาะภาษาและวรรณคดีไทยระหว่างที่เรียนอยู่ในระดับ ป.ม. และกศ.บ.ได้ร่วมกับเพื่อนๆ เปิดโรงเรียนกวดวิชาภาคฤดูร้อนให้แก่นักเรียนที่จะสอบเข้าเรียนในระดับต่างๆ มีรายได้พอที่จะใช้ในการศึกษา โดยไม่ต้องรบกวนบิดามารดา และขณะเดียวกันก็ได้ริเริ่มงานเขียนโดยได้รวบรวมเรียบเรียงเรื่องเกี่ยวกับภาษาและวรรณกรรมมุขปาฐะของปักษ์ใต้ ชื่อหนังสือว่า “ของดีปักษ์ใต้”
เมื่อศาสตราจารย์สุธิวงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ได้สอบคัดเลือกมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ตรี วิทยาลัยครูสงขลา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทำหน้าที่สอนวิชาภาษาไทย ป.กศ. ชั้นต้น และป.กศ. ชั้นสูง ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาไทยระดับ ป.กศ.ชั้นสูง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖
ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์โท วิทยาลัยครูสงขลาในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ สมรสกับนางสาวประดับ สิทธิสาร มีบุตรชาย ๔ คน ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์โท และอาจารย์เอก วิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา ตามลำดับและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ดังนี้ คือ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ ๖ ใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ ๘ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ ๙ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ และตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕
ขณะที่ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ รับราชการอยู่ได้รับทุนไปศึกษาดูงานต่างประเทศหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีเหนือ อังกฤษ และประเทศฝรั่งเศส
ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย คือ
๕ ธ.ค. ๒๕๒๙ ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (สายที่ ๑)
๕ ธ.ค. ๒๕๓๒ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (สายที่ ๒)
๕ ธ.ค. ๒๕๓๕ มหาวชิรามงกุฏ (สายที่ ๓)
๕ ธ.ค. ๒๕๓๙ มหาประถมาภรณ์ช้างเผือก (สายที่ ๔)
ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ดำรงตำแหน่งหลังเกษียณอายุราชการดังนี้ คือ
ศาสตราจารย์ระดับ ๑๑ (เกษียณอายุราชการ)
ศาสตราจารย์กิตติคุณ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
ลูกจ้างรายปี ในฐานะผู้เชี่ยวชาญของสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้ทรงคุณวุฒิสภาประจำสถาบันราชภัฏสงขลา
ผลงาน
๑. เขียนตำราเกี่ยวกับภาษาไทย (หลักภาษา วรรณคดี การใช้ภาษา) ไม่น้อยกว่า ๓๐ เล่ม
๒. บทความทางภาษาและวัฒนธรรมประมาณ ๑๐๐ เรื่อง
๓. เป็นบรรณาธิการหนังสืออ้างอิง สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้
๔. เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันทักษิณคดีศึกษา (พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา) ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๓๗
๕. เป็นประธานอนุกรรมการวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
๖. เป็นอนุกรรมการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
๗. เป็นผู้ริเริ่มจัดทำหลักสูตรวิชาโทภาษามลายู ของมหาวิทยาลัยทักษิณ
๘. เป็นผู้ริเริ่มและกรรมการจัดทำหลักสูตรไทยคดีศึกษา ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
๙. เป็นผู้ริเริ่มในการจัดทำพจนานุกรมภาษาถิ่นใต้
๑๐. เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ
๑๑. เป็นอนุกรรมการประสานงานสารนิเทศ สาขามนุษย์ศาสตร์ ของคณะกรรมการอำนวยการและประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ
เกียรติคุณที่ได้รับ
๑. รางวัลพระเกี้ยวทองคำ (๒๕๓๒) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น
๒. ได้รับการยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่น ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปี ๒๕๓๒
๓. ได้รับยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่น ของวิทยาลัยครูจันทรเกษม (๒๕๓๓)
๔. รางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ (๒๕๓๗) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้บุกเบิกการศึกษาวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่นภาคใต้
๕. รางวัลสงขลานครินทร์อนุสรณ์ (๒๕๓๗) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะผู้ทำประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นภาคใต้
๖. ได้รับเข็มยกย่องเชิดชูเกียรติจากกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๓๗) ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่กระทรวงศึกษาธิการ
๗. ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย (๒๕๒๗) ในฐานะผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นด้านภาษาไทย
๘. ได้รับรางวัลอาเซียนอวอร์ด สาขาไทยคดีศึกษา ประจำปี ๒๕๔๐ รับรางวัลที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโ ดนีเซีย เมื่อ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๐
๙. ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติจากสมาคมชาวปักษ์ใต้ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นคนดีศรีปักษ์ใต้ สาขาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๔๔
๑๐.ได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ อ้างอิงจากhttp://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=24666.0;wap2
คารวาลัย…ปราชญ์แห่งทุ่งระโนด
ปราชญ์จากทุ่งระโนดคนโจษขาน
คือตำนานภูมิลำเนา เขาหนุนส่ง
ณ ปัจจุบัน ‘บ้านตะเครียะ’ ที่ยังคง
คือบ้านเกิด ‘สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์’
โดยชาวนาแม้ยากจนขั้นข้นแค้น
ไม่ดูแคลนการศึกษาเป็นค่าศูนย์
ลูกจึงได้ร่ำเรียนเพียรเพิ่มพูน
“มี-ไม่มี” ก็เกื้อกูล..หนุนสุดแรง!
ลูกเติบโตและก้าวล้ำตามลำดับ
รัศมีจับเจิดจรัส ‘ศาสตร์’ ส่องแสง
ใช้ปัญญาความสามารถวาดสำแดง
ยังประโยชน์ไปทั่วแหล่งทั้งแผ่นดิน
เพราะเป็นลูกชาวใต้ไม่ลืมราก
ฝากผลงานแทนคุณไม่สูญสิ้น
สารพัดจัดสืบค้นเรายลยิน
สร้าง ‘สถาบันทักษิณ’ แหล่งเรียนรู้
เป็นแหล่งรวมมรดกบรรพบุรุษ
บางเรื่องราวอาจชำรุดแต่คงอยู่
คติชนวิทยาค่าเฟื่องฟู
สารานุกรมน่าเชิดชูในคุณูปการ
คือศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์
ผู้เกื้อกูล, สร้างคุณค่ามหาศาล
จากเด็กน้อยลูกชาวนาแดนกันดาร
สู่นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญของแผ่นดิน
แล้วถึงคราวความชราพรากสังขาร
แต่ผลงานท่านสร้างไว้ไม่สูญสิ้น
รอยรัก รอยอาลัย ไห้..ยลยิน
น้ำตารินคารวะปราชญ์เมธี..สุธิวงศ์
พินิจ นิลรัตน์
ขอขอบคุณท่านอาจารย์พินิจ นิลรัตน์ ที่กรุณาอนุญาตให้นำบทประพันธ์มาเผยแพร่นะคะ
ครูส่งเสริมการอ่าน
Copyright © 2024 | WordPress Theme by MH Themes
Leave a Reply