อานิสงส์จากการฝังลูกนิมิต

อานิสงส์การฝังลูกนิมิต

  • 00
    2
    4

  • 6
    7
    8
  • 10
    13
    14
  • 15
    16
    17
  • 18
    20
    21
  • 22
    23
    24
  • 25
    26
    27
  • 28
    29
    30
  • 31
    32
    33
  • 34
    35
    36
  • 37
    38
    39
  • 40
    41
    30624361_435548196869564_938753551446320694_n
  • 30624444_435548673536183_5980386923034928495_n
    30624460_435548490202868_5428438533691933983_n
    30629651_435548390202878_20297358195322347_n
  • 30656844_435548606869523_4729191975308611896_n

อานิสงส์การฝังลูกนิมิต ขอบคุณข้อมูลและภาพบางส่วนจากhttp://horoscope.sanook.com/24513/ นางสาวสุรางคนางไชยศรี

หลังจากผ่านพ้นเทศกาลปีใหม่ ต่อด้วยตรุษจีนปีใหม่ของคนไทยเชื่อสายจีน มาถึงช่วงที่หลายคนจะได้เข้าวัดทำบุญปิดทองฝังลูกนิมิตกันบ้างแล้วค่ะ Sanook! Horoscope จึงได้นำเรื่องราวที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการปิดทองฝังลูกนิมิตมาบอกเล่าเพื่อเป็นความรู้แก่ทุกคนค่ะ

ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน “ลูกนิมิต” หมายถึง ลูกที่ทำกลมๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหิน ใช้ฝังเป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ ส่วนพจนานุกรมฉบับมติชน ให้ความหมาย “ลูกนิมิต” ว่า ก้อนหินที่วางบอกเขตพัทธสีมาในการทำสังฆกรรม

การฝังลูกนิมิต มีชื่อเรียกเป็นทางการอีกอย่างหนึ่งว่า การผูกพัทธสีมา (แปลว่า เขตทำสังฆกรรมที่กำหนดตามพุทธานุญาต) โดยปัจจุบันจะเริ่มจากพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันในโบสถ์ เพื่อทำพิธีสวดถอน มิให้อาณาบริเวณที่จะกำหนดนี้ไปทับที่ที่เคยเป็นสีมา หรือเป็นที่ที่มีเจ้าของครอบครองอยู่ก่อน

โดยทั่วไป ลูกนิมิตที่ใช้ผูกสีมาจะมีจำนวน 9 ลูก โดยฝังตามทิศต่างๆ โดยรอบอุโบสถทั้ง 8 ทิศ ทิศละ 1 ลูก และฝังไว้กลางอุโบสถอีก 1 ลูกเป็นลูกเอก เมื่อจะผูกสีมาพระสงฆ์จำนวน 4 รูป จะเดินตรวจลูกนิมิตที่วางไว้ตามทิศต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่ทิศตะวันออกเป็นต้นไป เรียกว่า สวดทักสีมา จนครบทุกทิศและมาจบที่ทิศตะวันออกอีกครั้งเพื่อให้แนวนิมิตบรรจบกัน เมื่อสวดทักนิมิตจบแล้ว ก็จะกลับเข้าไปประชุมสงฆ์ในอุโบสถ และสวดประกาศสีมาอีกครั้ง หลังจากนั้นก็จะทำการตัดลูกนิมิตลงหลุมเพื่อกลบ แล้วสร้างเป็นซุ้มหรือก่อเป็นฐานตั้งใบสีมาต่อไป

“เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบันใบสีมานี้ ได้กลายเป็นเครื่องหมายบอกเขตของโบสถ์แทนลูกนิมิตที่เป็นเครื่องหมายเดิมที่ถูกฝังอยู่ข้างใต้ไปแล้ว อาจจะเป็นเรื่องของความสวยงามหรือการออกแบบในภายหลังก็ได้”

อนึ่ง ลูกนิมิตที่ใช้ฝังตามทิศต่างๆ นี้ มีผู้เปรียบว่าเป็นเสมือนองค์พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์สาวกสำคัญๆ กล่าวคือ ลูกนิมิตที่ฝังทางทิศตะวันออก หมายถึง พระอัญญาโกณฑัญญะ ซึ่งได้ชื่อว่าผู้รู้ราตรีกาลนาน คือ มีความรู้มาก ผ่านโลกมามาก

โดยแต่ละทิศที่ฝังมีความหมายดังนี้

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง พระมหากัสสปะ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทรงธุดงค์คุณ

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หมายถึง พระราหุล ผู้เป็นเลิศทางการศึกษา

ทิศใต้ หมายถึง พระสารีบุตร ผู้เลิศในทางปัญญา

ทิศเหนือ หมายถึง พระโมคัลลานะ ผู้เลิศทางฤทธิ์

ทิศตะวันตก หมายถึง พระอานนท์ ผู้เลิศในทางพหูสูต

ทิศตะวันตกเฉียงใต้ หมายถึง พระอุบาลี ผู้เลิศในทางวินัย

แลทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หมายถึง พระควัมปติ ผู้เลิศในทางลาภและรูปงาม ส่วนลูกนิมิตกลางโบสถ์ก็คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ด้วยเหตุที่ในสมัยก่อน การที่จะสร้างโบสถ์ได้หลังหนึ่งๆ หรือแม้จะซ่อมแซมโบสถ์เก่าให้สวยงาม มิใช่เรื่องง่าย และต้องใช้ระยะเวลานานมาก

ดังนั้น จึงเชื่อกันว่าหากใครได้มีโอกาสทำบุญฝังลูกนิมิต จะมีอานิสงส์ถึง 6 ประการด้วยกันคือ

  1. ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บทุกชาติ ปราศจากอุปัททวะ (อุ-ปัด-ทะ-วะ สิ่งอัปมงคล) ทั้งหลาย
  2. ไม่เกิดในตระกูลต่ำ
  3. หากเกิดในมนุษย์โลกก็จะเกิดเป็นท้าวพระยามหากษัตริย์
  4. หากเกิดในเทวโลกก็จะเกิดเป็นท้าวสักกเทวราช
  5. จะสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง มีผิวพรรณผ่องใส
  6. ข้อสุดท้ายคือมีอายุยืนนาน และมักจะใส่สมุด ดินสอ เข็ม และด้าย ลงไปในหลุมที่ฝังลูกนิมิตด้วย เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้มีความจำดี มีปัญญาเฉียบแหลมเหมือนเข็ม และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องเหมือนความยาวของด้าย

อันที่จริงแล้ว การฝังลูกนิมิตเพื่อกำหนดเขตทำสังฆกรรม หรือปัจจุบันคือการกำหนดเขตที่เป็นโบสถ์นั้น เป็นกิจของสงฆ์โดยเฉพาะ คือฆราวาสหรือชาวบ้านไม่ได้มีส่วนยุ่งเกี่ยวแต่เนื่องจากปัจจุบันโบสถ์ มิเพียงแต่จะเป็นสถานที่ที่สงฆ์ใช้ทำสังฆกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นศาสนสถานที่พุทธศาสนิกชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมอื่นๆ ด้วย

สำหรับใครที่อยากทำบุญเสริมสิริมงคลให้แก้ตัวเองการปิดทองฝังลูกนิมิตก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคุณค่ะ แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะทำบุญด้วยวิธีใดๆ แค่เรามีจิตใจที่บริสุทธิ์และมีความตั้งใจจริงๆที่จะทำผลบุญที่ได้ก็จะบังเกิดกับตัวของคุณอย่างแน่นอนค่ะ

ขอบคุณข้อมูลและภาพประจาก www.dhammajak.net,wikipedia

 

 

About ครูกิติยา 95 Articles
ครูส่งเสริมการอ่าน

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*