ห้องสมุดของชาวญี่ปุ่น International Library of Children’s Literature (ILCL)

International Library of Children’s Literature (ILCL)

Tokyo Children’s Library(ห้องสมุดเด็กโตเกียว) ได้พัฒนามาจากห้องสมุดบุงโกะ ให้เป็นห้องสมุดเด็กโตเกียวในปี 1974 ที่นี่มีกิจกรรมและการบรรยายส่งเสริมการอ่านให้เด็กมากมาย โดยบุคลากรที่ในแวดวงการศึกษา  ห้องสมุด  และจิตอาสาจากวิชาชีพอื่นๆ

  • 31118517_307247876472024_227341483789778944_n
    P_20170428_130908
    P_20170428_130910

  • P_20170428_130940
    P_20170428_131000
    P_20170428_131007
  • P_20170428_131055
    P_20170428_131059
    P_20170428_131122
  • P_20170428_131136
    P_20170428_131146
    P_20170428_131204
  • P_20170428_131244_BF
    P_20170428_131341
    P_20170428_131413
  • P_20170428_131436
    P_20170428_132117
    P_20170428_132128
  • P_20170428_132218
    P_20170428_132320
    P_20170428_132400
  • P_20170428_132540
    P_20170428_132641
    P_20170428_132830
  • P_20170428_132904
    P_20170428_133110
    P_20170428_133141
  • P_20170428_133156
    P_20170428_133346
    P_20170428_133357
  • P_20170428_133427
    P_20170428_133454
    P_20170428_133521
  • P_20170428_133601
    P_20170428_133710
    P_20170428_134314
  • P_20170428_134737_BF
    P_20170428_134913
    P_20170428_222742
  • P_20170428_222801
    P_20170428_222810
    P_20170428_222828
  • P_20170428_222850
    P_20170428_222903
    P_20170428_222920
  • P_20170428_223039
    P_20170428_223218
    P_20170428_223231

ผู้เขียนได้มีโอกาสเยี่ยมชมภายในห้องสมุด มีการแบ่งพื้นที่เป็นห้องสำหรับเด็กซึ่งมีหนังสือนิทานสวยๆจากทั่วโลกมากมาย  มีห้องเล่านิทาน และห้องค้นคว้าวิจัยของผู้ใหญ่ และพบข้อมูลจากการบอกเล่าของเจ้าหน้าที่และจุลสารแนะนำห้องสมุด พอสรุปได้ว่าในปี 2000 มีการก่อตั้งห้องสมุดนานาชาติด้านวรรณกรรมเด็ก หรือ International Library of Children’s Literature (ILCL) ณ Imperial Library (ห้องสมุดสมเด็จพระจักรพรรดิ) ในอาคารที่สูงเด่น คลาสสิก สวยงามแห่งนี้ โดยใช้พื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของอาคาร เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับเด็กอายุ 18 ปีลงมา มีตำราเรียน หนังสือนิทาน หนังสืออ่านเล่น หนังสือการ์ตูน และคู่มือการจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมมากมาย

เมื่อได้เดินชม ชั้น 1 ที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กเป็นประจำทุกสัปดาห์ ณ ห้องนิทรรศการซึ่งรอบๆห้องเป็นพื้นที่วงกลม มีหนังสือนิทานสำหรับเด็กทั้งของประเทศญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป และที่อื่นๆ มาเรียงรายไว้รอบๆ และหมุนเวียนต่อเนื่องทุกสัปดาห์ และยังพบข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ว่ามีการทำสำเนาไมโครฟิล์มนับแสนรายการ มารวบรวมไว้ที่นี่อีกด้วย

 

ห้องสมุดมากมายหลายแห่งในญี่ปุ่น และทุกแห่งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่เข้มแข็งต่อเนื่องเป็นการสร้างรากฐานการอ่าน ให้เด็กๆได้เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพ สถานที่แห่งนี้จึงเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ได้ว่าทำไมการอ่านเป็นจึงวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นมาต่อเนื่องยาวนาน.

หากหน่วยงานทุกองค์กรในประเทศของเรา เสนอและสนองนโยบาย ให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง ทุกปัญหาของเด็กๆในเวลานี้น่าจะบรรเทาเบาบางลง  หากเด็กๆจะได้มีสถานที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เป็นที่พึ่ง อันจะก่อให้เกิดทั้งการพัฒนาและการป้องกันปัญหาในชีวิตประจำวันได้.

About ครูกิติยา 95 Articles
ครูส่งเสริมการอ่าน

1 Comment

  1. หนูชอบอ่านหนังสือการ์ตูนมากๆค่ะ ยิ่งมีอะไรน่ารักๆมีกิจกรรมสำหรับเด็กหนูยิ่งชอบ ถ้ามีโอกาสได้ไปหนูก็จะไปค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*